- กิจกรรม
- ห้องเรียนชีวิต วิชาชีวิต มิติการแพทย์
ห้องเรียนชีวิต วิชาชีวิต มิติการแพทย์
กิจกรรมอบรมความรู้ ความเข้าใจ ในกระบวนการการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ให้สามารถนำไปวางแผนชีวิตเพื่อ “อยู่ดี - ตายดี” ในเชิงลึก ตลอดจนสามารถนำไปใช้ได้จริง
รับสมัครบุคคลทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย
🔸เรียนฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
🔸รับจำนวน 300 ท่าน
ช่วงเวลาการรับสมัคร
🔸เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 10 - 14 พฤษภาคม 2566
🔸ประกาศรายชื่อภายในวันที่ 24 พฤษภาคม 2566
🔸ส่ง Link Zoom ของบทเรียนที่ 1 และ Pre Test (บททดสอบก่อนเรียน) ให้ทางอีเมล ภายในวันที่ 24 พฤษภาคม 2566
ช่วงเวลาจัดอบรม
🔸ทุกวันเสาร์ ตั้งแต่ 28 พฤษภาคม - 8 กรกฎาคม 2566
🔸เวลา 13:00-16:00 น. (ยกเว้นบทเรียนที่ 1 จะเป็นวันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.00 - 16.00 น. และบทเรียนที่ 3 จะเป็นวันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น.)
รูปแบบกิจกรรม
🔸สัปดาห์ที่ 1 - 6 อบรมออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting
🔸สัปดาห์ที่ 7 งานเสวนาปิดห้องเรียนวิชาชีวิต แบบ Onsite 1 ครั้ง ในวันเสาร์ 8 กรกฎาคม 2566 เวลา 10.00-16.00 น. (สถานที่จัดงานจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง)
รายละเอียดบทเรียน
บทเรียนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเรื่องการดูแลแบบประคับประคองและการตายดี
- รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์
คณบดีคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อํานวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย
วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม 2566
เวลา 13.00 - 16.00 น.
เรียนผ่านระบบ Zoom Meeting
บทเรียนที่ 2 การวางแผนดูแลสุขภาพล่วงหน้า (Advance Care Planning)
- ผศ.นพ. กิติพล นาควิโรจน์
รองหัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566
เวลา 13.00 - 16.00 น.
เรียนผ่านระบบ Zoom Meeting
บทเรียนที่ 3 สรีรวิทยาผู้ป่วยระยะท้าย และการดูแลแผลกดทับ
- พ.อ.หญิง ดร.จิตรวีณา มหาคีตะ
อาจารย์ประจำภาควิชาสรีรวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า
- อ.ดร.กนกวรรณ ทองโชติ
อาจารย์ประจำสาขากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วันที่อาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2566
เวลา 09.00-12.00 น.
เรียนผ่านระบบ Zoom Meeting
บทเรียนที่ 4 การจัดการความเจ็บปวดและไม่สุขสบายกายและใจ
- นพ. ภิญโญ ศรีวีระชัย
แพทย์ด้านการดูแลแบบประคับประคอง ศูนย์บริรักษ์ รพ. ศิริราช
วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2566
เวลา 13.00 - 16.00 น.
เรียนผ่านระบบ Zoom Meeting
บทเรียนที่ 5 การรักษาที่จำเป็น และไม่จำเป็น
- พอ.นพ.ฐิติศักดิ์ กิจทวีสิน
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต หัวหน้าศูนย์บริหารงานวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ รพ.พระมงกุฎเกล้า
- พญ.นิษฐา เอื้ออารีมิตร
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินหายใจและปอด ไอซียู และการดูแลแบบประคับประคอง
วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2566
เวลา 13.00 - 16.00 น.
เรียนผ่านระบบ Zoom Meeting
บทเรียนที่ 6 การดูแลแบบประคับประคองจากโรงพยาบาลสู่บ้านและชุมชน
- นพ.ภูริทัต แสงทองพานิชกุล
รองผู้อำนวยการ ฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ (Palliative care ใน กทม.)
- พญ.น้ำทิพย์ อินทับ
หัวหน้าศูนย์ประคับประคอง โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก (Palliative care จากโรงพยาบาลสู่บ้านและชุมชน ตัวอย่างงานคลินิกเบาใจ)
- อ.พญ.เรือนขวัญ กัณหสิงห์
หัวหน้าสาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว สถานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Hospice ศูนย์ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย)
วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2566
เวลา 13.00 - 16.00 น.
เรียนผ่านระบบ Zoom Meeting
เสวนาปิดท้ายบทเรียนวิชาชีวิต มิติการแพทย์ (จัดแบบ Onsite)
- รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์
- พอ.นพ.ฐิติศักดิ์ กิจทวีสิน
- นพ.ภูริทัต แสงทองพานิชกุล
วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2566
เวลา 10.00 - 16.00 น.
(สถานที่จัดงานจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง)
*หมายเหตุ มีการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook และ YouTube ของชีวามิตร
เงื่อนไขการเข้าร่วมอบรม:
1. เมื่อมีผู้สมัครครบจำนวนที่ต้องการแล้ว จะปิดรับสมัครทันที
2. ผู้ที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับอีเมลตอบกลับอัตโนมัติทันทีหลังสมัคร (โดยไม่ต้องตอบกลับเพื่อยืนยันตัวตน)
3. หากสมัครแล้วไม่ได้รับอีเมลตอบกลับอัตโนมัติ รบกวนตรวจสอบอีเมลและแก้ไขอีเมลได้ที่ "ข้อมูลส่วนตัว" บนเว็บไซต์ และกดสมัครใหม่อีกครั้ง
4. ผู้สมัครจะต้องพิจารณาถึงความพร้อมของตนเองแล้วว่า สามารถเข้าเรียนต่อเนื่องจนครบทั้ง 6 สัปดาห์ได้เท่านั้น (ไม่รวมงานเสวนาปิดห้องเรียนแบบ Onsite)
5. ผู้ที่ได้รับคัดเลือกจะต้องให้ความร่วมมือในการทำแบบสอบถามทั้ง 2 แบบฟอร์ม ดังนี้ แบบทดสอบก่อนเริ่มเรียนบทเรียนที่ 1 และแบบทดสอบหลังจบบทเรียนที่ 6 (โดยผู้ที่ตอบแบบทดสอบก่อน - หลังเรียน ครบทั้ง 2 แบบฟอร์ม จะได้รับประกาศนียบัตรจากชีวามิตร และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.))
สนับสนุนกิจกรรมโดย
