Knowledge cover image
11 สิงหาคม 2565
  1. คลังความรู้
  2. 4 เรื่องต้องรู้ กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน

4 เรื่องต้องรู้ กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน

การวางแผนชีวิตให้ครอบคลุมทุกมิติจนกระทั่งถึงลมหายใจสุดท้าย


เรื่องโดย ทีม Content ชีวามิตร

การวางแผนชีวิตให้ครอบคลุมทุกมิติจนกระทั่งถึงลมหายใจสุดท้าย นอกจากการดูแลรักษาทางการแพทย์ การทำ Living Will แล้ว การวางแผนจัดการทรัพย์สินก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะช่วยไม่ให้เกิดความยุ่งยากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดเจ็บป่วยกะทันหัน หรือเสียชีวิตลง โดยมีแนวทางดังนี้


1. การจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินอาจเกี่ยวกับเรื่องการลงทุน ต้องระมัดระวังให้มาก หากไม่มีประสบการณ์ก็มีโอกาสสูญเสียทรัพย์ได้


2. ในกรณีที่มอบหรือโอนทรัพย์สินนั้น ๆ แก่ผู้อื่น ในทางกฎหมาย หากเป็นสังหาริมทรัพย์ สามารถดำเนินการโดยการส่งมอบ หากเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน ต้องทำการโอนเพื่อเปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียน โดยเสียค่าธรรมเนียมตามราคาที่ประเมิน 


การโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์นี้ ผู้โอนอาจสงวนสิทธิเก็บกินไว้ก็ได้ เช่น จะเก็บค่าเช่าไปก่อนจนกว่าจะเสียชีวิต เป็นต้น


3. หากมิได้มีการโอนระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของทายาท ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้เรียงลำดับทายาทและหลักเกณฑ์ไว้


มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลัง ดังต่อไปนี้

...ผู้สืบสันดาน

... บิดามารดา

...พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

...พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

...ปู่ ย่า ตา ยาย

...ลุง ป้า น้า อา


ความหมายของผู้สืบสันดาน คือ ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงของเจ้ามรดก คือ ลูก หลาน เหลน ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะขาดสาย รวมถึงบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับรองเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายแล้ว คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635


4. ในกรณีที่ได้ทำพินัยกรรมไว้ บุคคลที่ผู้ทำพินัยกรรมได้ระบุชื่อไว้เท่านั้นที่มีสิทธิได้รับมรดก โดยไม่ต้องพิจารณาลำดับทายาทโดยธรรมอีก

ทีม Content ชีวามิตร avatar image
เรื่องโดยทีม Content ชีวามิตรเรียบเรียงข้อมูลจากหนังสือ “ดูแลชีวิตและทรัพย์สินอย่างไรให้หายห่วง” โดยศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

COMMENT

ความคิดเห็น 0 รายการ

User avatar image

RELATED

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด Krungthai ads