- คลังความรู้
- ความแตกต่างของ Advance Care Planning กับ Living Will
ความแตกต่างของ Advance Care Planning กับ Living Will
เพื่อความเข้าใจในการวางแผน "อยู่ดี-ตายดี"
เรื่องโดย ทีม Content ชีวามิตร
การวางแผนดูแลรักษาสุขภาพล่วงหน้า (Advance Care Planning) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการกระบวนการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) กับ การทำหนังสือแสดงเจตนาเลือกวิธีการรักษาในช่วงสุดท้ายของชีวิต (Advance Directives) หรือ Living Will แตกต่างกันอย่างไร มาดูกัน
Advance Care Planning หมายถึง “การวางแผนดูแลสุขภาพล่วงหน้า”
ซึ่งประเทศไทยมีประกาศ มาตรฐานการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำหรับประเทศไทย (Thai standards for advance care planning) พ.ศ. 2565
Advance Care Planning เป็น “กระบวนการ” ปรึกษาหารือกัน และสื่อสาร สองทางระหว่างผู้แสดงเจตนา หรือผู้ป่วย กับครอบครัว ผู้เกี่ยวข้อง บุคลากรสุขภาพ โดยยึดหลัก Humanize care ดูแลแบบองค์รวมใน 3 ด้าน คือ ความรู้สึก อารมณ์ และจิตวิญญาณ ทั้งกับผู้ป่วยและญาติ มีแนวทางปฏิบัติชัดเจน และแผนการดูแลที่เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของผู้ป่วยแต่ละคน และเน้นเป้าหมายที่กระบวนการ ไม่ใช่ตัวเอกสาร เพื่อให้ตลอดการดูแลรักษาเกิดความพึงพอใจ มีการเติมเต็ม คุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการจัดการปัญหาต่าง ๆ และให้ความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย
Advance Care Planning จะมีผลเมื่อมีการวินิจฉัยโรคและเข้าสู่กระบวนการวางแผนดูแลรักษาล่วงหน้า
Living Will หรือ Advance Directives หมายถึง “หนังสือแสดงเจตนาเลือกวิธีการรักษาใน ช่วงสุดท้ายของชีวิต”
ซึ่งประเทศไทยมีประกาศตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12
Living Will เป็น “เอกสาร” แสดงเจตนาของผู้ป่วยโดยชอบธรรมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร มีประเด็นสำคัญ คือ การปฏิเสธการช่วยฟื้นคืนชีพเมื่อหัวใจหยุดเต้น ปฏิเสธการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อยื้อ ชีวิต ความต้องการเสียชีวิตที่บ้าน รวมถึงการเยียวยาทางจิตใจ โดยเน้นเป้าหมายเพื่อลดความขัดแย้งในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์กับญาติ เพื่อให้ปฏิบัติตามความต้องการของผู้ป่วย
Living Will จะมีผลเมื่อผู้ทำหนังสืออยู่ในภาวะที่ไม่สามารถแสดงเจตนาด้วยตนเอง ไม่สามารถสื่อสารได้ตามปกติ หรืออยู่ใน วาระสุดท้ายของชีวิต และเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนดูแลสุขภาพล่วงหน้า (Advance Care Planning)